Hosting (โฮสติ้ง) คืออะไร
-
Hosting (โฮสติ้ง)
-
Virtual Private Server
-
Dedicated Server
-
Cloud
<
>
ความหมาย Hosting ง่ายๆ คือ การเก็บข้อมูล โดยฝากไว้กับเครื่อง server ที่ให้บริการ upload ข้อมูล โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ตโดยข้อมูลนั้นก็คือ ข้อมูลต่างๆ ของ website ซึ่ง user สามารถเข้ามาชม website ของผู้ที่ฝากไว้ในเครื่อง server
ความรู้เกี่ยวกับ Hosting
Web Hosting (เว็บโฮสติ้ง) ในเมืองไทยตอนนี้ก็มีมากมายหลายรายน่าจะเกิน 4,xxx รายได้แข่งขันกันน่าดู บางรายถึงกับยอมขาดทุน ตัดราคาคู่แข่ง จนสุดท้ายก็ไปไม่รอดก็มี บางรายก็ลงทุนเสียค่าโฆษณาไม่รู้เดือนหนึ่งกี่พันกี่หมื่น บางรายก็เล่นเอาง่ายๆ เอาเครื่องพีซีธรรมดามาทำเป็นเครื่อง server (โดยเฉพาะนักศึกษาหารายได้พิเศษ) ใช้ไปได้ไม่กี่เดือนเครื่องมีปัญหาความร้อนบ้าง hard disk พังบ้าง เครื่องแฮงค์ไปเฉยๆ ไม่รู้สาเหตุก็มี ปัญหาเรื่อง hosting มีมากมายเกินจะพรรณา ทั้งเรื่องบริการ ทั้งด้านเทคนิค ต้องคอยตอบปัญหาแก่ลูกค้าซึ่งบางครั้งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่อง web hosting เลยก็มี โดยเฉพาะเรื่องการทำเว็บไซต์ ซึ่งหลายๆเจ้ามักจะเจอปัญหานี้ แต่ก็อย่างว่าลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ คนเราต้องสู้ชีวิตกันทุกคนยังไงก็ต้องรักษาลูกค้าไว้ให้อยู่กับเรานานที่สุด
สำหรับบริการของทางบริษัทฯ มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า และงบประมาณ โดยในปัจจุบันการบริการมีดังนี้
ตัวอย่าง - ระบบ could ต้องเช่า ปีละ 4x,xxx
- ระบบ web hosting ปีละ 5xx - 4x,xxx
โดยค่าบริการมีทั้งราคาถูก ไม่แพง จนราคาสูง ก็ขึ้นกับคุณภาพ ความจำกัด ปริมาณ ที่แต่ละเจ้าจะให้บริการซึ่งเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องมีการพิจารณา สำหรับเจ้าของธุรกิจ/ผู้เกี่ยวข้อง คือ ตามนิยามที่พูดกันเล่นๆ แต่เป็นจริงคือ ของถูก ของดี ไม่มีในโลกค่ะ อย่าลืมว่า ทุกๆ อย่างมีต้นทุนการผลิตทั้งแรงงาน ทรัพยากรต่างๆ เพียงแต่เทคนิคการแปรรูป/การใช้คำต่างๆ ที่แตกต่างกันไป
ความรู้เกี่ยวกับ Hosting
Web Hosting (เว็บโฮสติ้ง) ในเมืองไทยตอนนี้ก็มีมากมายหลายรายน่าจะเกิน 4,xxx รายได้แข่งขันกันน่าดู บางรายถึงกับยอมขาดทุน ตัดราคาคู่แข่ง จนสุดท้ายก็ไปไม่รอดก็มี บางรายก็ลงทุนเสียค่าโฆษณาไม่รู้เดือนหนึ่งกี่พันกี่หมื่น บางรายก็เล่นเอาง่ายๆ เอาเครื่องพีซีธรรมดามาทำเป็นเครื่อง server (โดยเฉพาะนักศึกษาหารายได้พิเศษ) ใช้ไปได้ไม่กี่เดือนเครื่องมีปัญหาความร้อนบ้าง hard disk พังบ้าง เครื่องแฮงค์ไปเฉยๆ ไม่รู้สาเหตุก็มี ปัญหาเรื่อง hosting มีมากมายเกินจะพรรณา ทั้งเรื่องบริการ ทั้งด้านเทคนิค ต้องคอยตอบปัญหาแก่ลูกค้าซึ่งบางครั้งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่อง web hosting เลยก็มี โดยเฉพาะเรื่องการทำเว็บไซต์ ซึ่งหลายๆเจ้ามักจะเจอปัญหานี้ แต่ก็อย่างว่าลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ คนเราต้องสู้ชีวิตกันทุกคนยังไงก็ต้องรักษาลูกค้าไว้ให้อยู่กับเรานานที่สุด
สำหรับบริการของทางบริษัทฯ มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า และงบประมาณ โดยในปัจจุบันการบริการมีดังนี้
- Virtual Private Server
- Dedicated Server
- Cloud
ตัวอย่าง - ระบบ could ต้องเช่า ปีละ 4x,xxx
- ระบบ web hosting ปีละ 5xx - 4x,xxx
โดยค่าบริการมีทั้งราคาถูก ไม่แพง จนราคาสูง ก็ขึ้นกับคุณภาพ ความจำกัด ปริมาณ ที่แต่ละเจ้าจะให้บริการซึ่งเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องมีการพิจารณา สำหรับเจ้าของธุรกิจ/ผู้เกี่ยวข้อง คือ ตามนิยามที่พูดกันเล่นๆ แต่เป็นจริงคือ ของถูก ของดี ไม่มีในโลกค่ะ อย่าลืมว่า ทุกๆ อย่างมีต้นทุนการผลิตทั้งแรงงาน ทรัพยากรต่างๆ เพียงแต่เทคนิคการแปรรูป/การใช้คำต่างๆ ที่แตกต่างกันไป
VPS คือ การแบ่งเซิฟเวอร์ให้เช่า คือ มีเครื่องเซิฟเวอร์ 1 เครื่องแล้ว แบ่งแยกระบบออกจากกันเลย โดยใช้หลักการของ VM ฉะนั้น เซิฟเวอร์เครื่องนึงจะแบ่งแยกใช้ VPS ได้อย่างมากสุด ประมาณ 10 VPS เพราะว่า OS มันต้องรันในระบบ ต่อการแบ่ง 1 ตัว แต่ว่าถ้าเกิดเป็น Hosting ธรรมดามันเป็นแค่ระบบที่ติดตั้งในเซิฟเวอร์ เพื่อแบ่งแยกให้แต่ละ user เข้าใช้งาน แต่อยู่ในเซิฟเวอร์หรือ OS เดียวกัน
โดยความแตกต่างของ user ที่ใช้งานนั้น ถ้าเป็น Hosting จะสามารถเข้าจัดการได้แค่ไฟล์ระบบในส่วนของตนเอง แต่ไม่สามารถจัดการเซิฟเวอร์หรือระบบต่างๆ ได้ แต่ถ้าเป็น VPS โดยผู้เช่า สามารถจัดการะบบต่างๆ ในเซิฟเวอร์ได้ทั้งหมดเหมือนเป็นเซิฟเวอร์ของตนเอง |
VPS
Virtual Private Server คือเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือเป็นประหนึ่งเซิร์ฟเวอร์ แต่จำลองขึ้นมา โดยแบ่งเซิร์ฟเวอร์ 1 ตัว ออกเป็น VPS ย่อยๆ หลายๆ ตัว โดยที่แต่ละ VPS ทำงานแยกจากกัน แบ่ง CPU, Memory, Disk กันตาม Limit ที่ตั้งไว้ และแยกระบบ login รวมทั้งการทำงานภายในออกจากกันโดยเด็ดขาด หาก VPS ตัวใดตัวหนึ่งทำงานหนัก ก็จะ "ไม่ค่อย" ไปกวนการทำงานของตัวอื่น หรือ VPS ตัวใดโดนเจาะระบบผ่านตัว VPS เอง ก็ไม่มีผลด้านความปลอดภัยไปถึง VPS ตัวอื่นในเซิร์ฟเวอร์นั้นโดยตรง
ที่ใช้คำว่า ไม่ค่อย เพราะมันขึ้นกับเทคโนโลยีของ VPS ที่นำมาใช้ บางรูปแบบการทำงานของ CPU จะแบ่ง Limit กันโดยเด็ดขาด แต่เทคโนโลยี VPS บางตัวก็อาจจะกวนกันได้บ้าง เช่น openvz ที่สามารถตั้ง minimum guaranteed CPU ของ VPS แต่ปล่อยให้ burst ได้ เป็นต้น ขึ้นกับผู้ให้บริการจะทำการตลาดโดยบอกตัวเลขอะไร ดังนั้นในบางกรณี VPS จึงสามารถ oversell ได้ (ขายมากกว่าทรัพยากรที่มีจริง)ในภาพรวมก็เป็นบริการที่เหมาะกับผู้ ที่ต้องการความอิสระในการปรับแต่งการทำงานระดับ root หรือ services ต่างๆ เสมือนใช้เซิร์ฟเวอร์ตัวเอง แต่ด้วยงบประมาณจำกัดหรือความจำเป็นไม่มากขนาดที่จะต้องเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้ง เครื่อง การเลือกใช้ VPS จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกและสบายกระเป๋ากว่า ทั้งนี้ VPS ในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ในราคาเดือนละไม่กี่ร้อยบาทขึ้นไปถึงหลักหลายพัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ Limit ต่างๆ ที่เราต้องการใช้
Virtual Private Server คือเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือเป็นประหนึ่งเซิร์ฟเวอร์ แต่จำลองขึ้นมา โดยแบ่งเซิร์ฟเวอร์ 1 ตัว ออกเป็น VPS ย่อยๆ หลายๆ ตัว โดยที่แต่ละ VPS ทำงานแยกจากกัน แบ่ง CPU, Memory, Disk กันตาม Limit ที่ตั้งไว้ และแยกระบบ login รวมทั้งการทำงานภายในออกจากกันโดยเด็ดขาด หาก VPS ตัวใดตัวหนึ่งทำงานหนัก ก็จะ "ไม่ค่อย" ไปกวนการทำงานของตัวอื่น หรือ VPS ตัวใดโดนเจาะระบบผ่านตัว VPS เอง ก็ไม่มีผลด้านความปลอดภัยไปถึง VPS ตัวอื่นในเซิร์ฟเวอร์นั้นโดยตรง
ที่ใช้คำว่า ไม่ค่อย เพราะมันขึ้นกับเทคโนโลยีของ VPS ที่นำมาใช้ บางรูปแบบการทำงานของ CPU จะแบ่ง Limit กันโดยเด็ดขาด แต่เทคโนโลยี VPS บางตัวก็อาจจะกวนกันได้บ้าง เช่น openvz ที่สามารถตั้ง minimum guaranteed CPU ของ VPS แต่ปล่อยให้ burst ได้ เป็นต้น ขึ้นกับผู้ให้บริการจะทำการตลาดโดยบอกตัวเลขอะไร ดังนั้นในบางกรณี VPS จึงสามารถ oversell ได้ (ขายมากกว่าทรัพยากรที่มีจริง)ในภาพรวมก็เป็นบริการที่เหมาะกับผู้ ที่ต้องการความอิสระในการปรับแต่งการทำงานระดับ root หรือ services ต่างๆ เสมือนใช้เซิร์ฟเวอร์ตัวเอง แต่ด้วยงบประมาณจำกัดหรือความจำเป็นไม่มากขนาดที่จะต้องเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้ง เครื่อง การเลือกใช้ VPS จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกและสบายกระเป๋ากว่า ทั้งนี้ VPS ในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ในราคาเดือนละไม่กี่ร้อยบาทขึ้นไปถึงหลักหลายพัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ Limit ต่างๆ ที่เราต้องการใช้
Dedicated Serverคือการเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งตัวเพื่อใช้งานและปรับแต่งตามความต้องการของผู้ ใช้เอง โดยสามารถใช้งาน Resources ทั้งหมดของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory, Disk และ Network ที่เชื่อมต่อกับตัวเครื่อง โดยหากอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเกิดปัญหา ระบบก็จะต้องหยุดการทำงานลงจนกว่าจะทำการเปลี่ยนอุปกรณ์และกู้ข้อมูล เสร็จสิ้น ซึ่งอาจกินเวลา 2-3 ชม. ไปจนถึงหลายชั่วโมง นอกเหนือไปจากนั้น การสำรองข้อมูล (backup) ก็มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว เพื่อที่จะสามารถกู้กลับคืนมาได้ในกรณีจำเป็น
Cloud ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ เพียงแต่เป็นเทคโนโลยีที่นำมาทำการตลาดอย่างจริงจัง ในต้นทุนที่ทำการตลาดแบบทั่วไปได้ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา ระบบ Cloud เป็นการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล และอาจมีการคิดเงินแบบเหมาจ่ายรายเดือน หรือคิดแบบตามใช้งานจริงก็ได้
ชั้นการประมวลผล (Computing layer -- CPU, Memory) เป็นการร่วมกันทำงานของเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่อง ซึ่งแม้มีเซิร์ฟเวอร์ใดเสียหายก็จะไม่มีผลกับการใช้งานของลูกค้า เพราะระบบจะสวิทช์การประมวลผลไปยังเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นแทนโดยอัตโนมัติในทันที การประมวลผลของเว็บของผู้ใช้งานจะทำงานในชั้นนี้ ซึ่งระบบจะแบ่งทรัพยากร CPU, Memory ให้ตามจำนวนที่เลือกและแยกทรัพยากรกับผู้อื่นอย่างชัดเจน Cloud ส่วนมากจะมี Firewall ป้องกันระบบของแต่ละคนออกจากกันอย่างเด็ดขาด
ชั้นเก็บข้อมูล (Storage layer) เป็นการทำงานร่วมกันของระบบเก็บข้อมูลแบบ SAN (Storage Area Network) หรือในบางระบบอาจใช้การทำงานของ Distributed Storage ในชั้นนี้ ซึ่ง Storage Layer นี้ จะต้องมีความเสถียรและความเร็วสูง และต้องมีระบบ Activate-Active หรือ Active-Standby เพื่อใช้งานระบบสำรองได้ทันทีที่เกิดเหตุขัดข้องของหน่วยเก็บข้อมูลหลัก จึงควรมี SAN อย่างน้อย 2 ตัว ซึ่งมีข้อมูลที่เหมือนกัน (Replicate) ตลอดเวลา ข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้งานจะถูกเก็บไว้ที่ชั้นนี้
เครือข่ายเน็ตเวิร์คความเร็วสูงจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นการประมวลผล และชั้นเก็บข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างทันใจตลอดเวลา
ระบบ Cloud บางแบบยังรองรับการขยายหรือหดตัวโดยอัตโนมัติสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือเว็บของลูกค้าเมื่อการใช้งานเพิ่มหรือลดตามที่ได้กำหนดไว้
นอกจากนี้ ยังมี Cloud ที่สามารถยืดขยายการทำงานให้ใช้ Resources ของระบบเกินขอบเขตของเครื่องๆ เดียว โดยการนำ CPU, Memory ของทุกเครื่องมารวมกัน และแบ่งให้บริการตามต้องการได้อีกด้วย
ระบบ Cloud จะมีต้นทุนของระบบที่สูงกว่าแบบอื่นมาก รวมทั้งไม่สามารถ Overselling (ขายเกินทรัพยากรรวมที่มี) ได้ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าบริการแบบอื่นๆ ดังนั้น ด้วยระบบ Cloud เหล่านี้ ทำให้การทำงานของเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนของผู้ใช้งานไม่ติดขัด แตกต่างจากเว็บโฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาทั่วไป ที่หากเกิดการติดขัดเสียหายของอุปกรณ์นั้นๆ ก็จะทำให้การทำงานหยุดลงโดยไม่มีระบบทดแทน
การเลือกใช้งาน
เมื่อเข้าใจความแตกต่างของบริการต่างๆ แล้ว ก็มาถึงเวลาที่ท่านจะเลือกใช้บริการให้เหมาะกับความต้องการและงบประมาณของท่าน
cloud เป็นคำโฆษณา ส่วนเทคโนโลยีจริงๆ มันไว้เรียกภาพรวมของระบบ มีตั้งแต่ระดับ app, service ไปจนถึง system
ชั้นการประมวลผล (Computing layer -- CPU, Memory) เป็นการร่วมกันทำงานของเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่อง ซึ่งแม้มีเซิร์ฟเวอร์ใดเสียหายก็จะไม่มีผลกับการใช้งานของลูกค้า เพราะระบบจะสวิทช์การประมวลผลไปยังเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นแทนโดยอัตโนมัติในทันที การประมวลผลของเว็บของผู้ใช้งานจะทำงานในชั้นนี้ ซึ่งระบบจะแบ่งทรัพยากร CPU, Memory ให้ตามจำนวนที่เลือกและแยกทรัพยากรกับผู้อื่นอย่างชัดเจน Cloud ส่วนมากจะมี Firewall ป้องกันระบบของแต่ละคนออกจากกันอย่างเด็ดขาด
ชั้นเก็บข้อมูล (Storage layer) เป็นการทำงานร่วมกันของระบบเก็บข้อมูลแบบ SAN (Storage Area Network) หรือในบางระบบอาจใช้การทำงานของ Distributed Storage ในชั้นนี้ ซึ่ง Storage Layer นี้ จะต้องมีความเสถียรและความเร็วสูง และต้องมีระบบ Activate-Active หรือ Active-Standby เพื่อใช้งานระบบสำรองได้ทันทีที่เกิดเหตุขัดข้องของหน่วยเก็บข้อมูลหลัก จึงควรมี SAN อย่างน้อย 2 ตัว ซึ่งมีข้อมูลที่เหมือนกัน (Replicate) ตลอดเวลา ข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้งานจะถูกเก็บไว้ที่ชั้นนี้
เครือข่ายเน็ตเวิร์คความเร็วสูงจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นการประมวลผล และชั้นเก็บข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างทันใจตลอดเวลา
ระบบ Cloud บางแบบยังรองรับการขยายหรือหดตัวโดยอัตโนมัติสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือเว็บของลูกค้าเมื่อการใช้งานเพิ่มหรือลดตามที่ได้กำหนดไว้
นอกจากนี้ ยังมี Cloud ที่สามารถยืดขยายการทำงานให้ใช้ Resources ของระบบเกินขอบเขตของเครื่องๆ เดียว โดยการนำ CPU, Memory ของทุกเครื่องมารวมกัน และแบ่งให้บริการตามต้องการได้อีกด้วย
ระบบ Cloud จะมีต้นทุนของระบบที่สูงกว่าแบบอื่นมาก รวมทั้งไม่สามารถ Overselling (ขายเกินทรัพยากรรวมที่มี) ได้ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าบริการแบบอื่นๆ ดังนั้น ด้วยระบบ Cloud เหล่านี้ ทำให้การทำงานของเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนของผู้ใช้งานไม่ติดขัด แตกต่างจากเว็บโฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาทั่วไป ที่หากเกิดการติดขัดเสียหายของอุปกรณ์นั้นๆ ก็จะทำให้การทำงานหยุดลงโดยไม่มีระบบทดแทน
การเลือกใช้งาน
เมื่อเข้าใจความแตกต่างของบริการต่างๆ แล้ว ก็มาถึงเวลาที่ท่านจะเลือกใช้บริการให้เหมาะกับความต้องการและงบประมาณของท่าน
- เลือกใช้ Dedicated server ถ้าท่านต้องการใช้ทรัพยากรทั้งหมดของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และมีการจัดการระบบ Backup ที่ดี เพื่อให้กลับมาทำงานได้เร็วที่สุดในกรณีอุปกรณ์ในเครื่องเสียหาย โดยทั่วไประบบ Dedicated server จะมีความเร็วสูง และโดยเฉพาะการทำงานกับดิสก์มักจะเร็วกว่า Cloud เพราะ Disk ติดอยู่ภายในตัวเซิร์ฟเวอร์โดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับระบบของ Disk ที่เครื่องด้วย ว่าจะเป็น Disk ประเภทใด ความเร็วเมื่อเทียบกับ SAN ที่ใช้ใน Cloud ก็จะแตกต่างกันไปไม่แน่นอน
- เลือกใช้ VPS หากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่อง VPS จะเป็นทางเลือกที่ประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด โดยมีความปลอดภัยและความเสถียรใกล้เคียงกับการใช้งาน Dedicated server แต่ความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลอาจจะต่ำกว่าเพราะทุก VPS ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะอ่านเขียนลง Disk เดียวกันภายในเครื่องทั้งหมด
- เลือกใช้ Cloud ถ้ามีงบประมาณมากเพียงพอและต้องการความสบายใจมากที่สุด บริการ Cloud มีโอกาสที่อุปกรณ์จะเสียหายพร้อมๆ กันทั้งหมดจนทำให้ระบบทำงานไม่ได้ต่ำมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการแบ่งชั้น Compute และ Storage ออกจากกัน ในกรณีผู้ใช้ที่ต้องทำการอ่านเขียนหนักมากๆ อาจได้ความเร็วของการอ่านเขียน Disk ไม่เร็วเท่ากับจาก Dedicated server ทุกระบบมีข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป เมื่อท่านทราบความแตกต่างเหล่านี้แล้ว บทความนี้ก็อาจช่วยให้ท่านจัดสินใจเลือกใช้บริการได้ง่ายและเหมาะสมยิ่งขึ้น
cloud เป็นคำโฆษณา ส่วนเทคโนโลยีจริงๆ มันไว้เรียกภาพรวมของระบบ มีตั้งแต่ระดับ app, service ไปจนถึง system