หน้าแรก > ถามตอบ > โฮสติ้ง
ถามตอบ เกี่ยวกับโฮสติ้ง
Hosting (โฮสติ้ง)
Hosting (โฮสติ้ง)Hosting คือ บริการเว็บโฮสติ้งก็คือบริการพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์แต่ถ้าให้อธิบาย ละเอียดขึ้นไปอีก บริการเว็บโฮสติ้งเป็นบริการให้เช่าพื้นที่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ออนไลน์ บนระบบอินเตอร์เน็ตสำหรับเก็บไฟล์เว็บไซต์ฐานข้อมูลและอีเมลล์เพื่อให้เว็บ ไซต์ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตและสามารถใช้งานรับส่งอีเมลล์ได้
Cloud Computing
Cloud Computing กับคำนิยามคำว่า Cloud Computing มีผู้ได้ให้คำนิยามไว้หลากหลาย เช่น
”การประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ ระบบ จัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยระบบสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนทรัพยากรให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทราบการทำงานเบื้องหลังว่าเป็นอย่างไร” โดย JavaBoom Collection
หรือ คำนิยามจากวิกิพีเดียที่ว่า “Cloud Computing อ้างถึงทรัพยากรสำหรับการคำนวณผลที่ถูกเข้าถึง ซึ่งโดยทั่วไปถูกเป็นเจ้าของและถูกดำเนินการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 (third-party provider) ซึ่งได้รวบรวมพื้นฐานที่จำเป็นทั่วไปเข้าไว้ด้วยกันในตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center) โดยผู้บริโภคบริการ cloud computing เสียค่าใช้จ่ายเพื่อความสามารถการคำนวณหรือการประมวลผลตามที่ต้องการ และไม่จำเป็นต้องรู้หรือเข้าใจในเทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งซ่อนอยู่ อันที่ถูกใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องแม่ข่าย (server) อย่างไรก็ตามมีตัวเลือกสำหรับผู้พัฒนาที่ต้องรู้และต้องคำนึงถึงในเทคโนโลยีสำคัญซึ่งซ่อนอยู่ในส่วนของการบริการแพล็ตฟอร์ม (platform services)”
การที่มีบางท่านให้คำนิยาม Cloud Computing ว่า “การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” นั้น ผู้เขียนเข้าใจว่าอาจเป็นเพราะ Cloud Computing เป็นการทำงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มากมายบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเราเพียงแต่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องสนใจว่าทรัพยากรที่ใช้อยู่นั้นมาจากต่างที่ต่างระบบเครือข่าย ทั้งที่อยู่ใกล้ ๆ หรือไกลออกไป เป็นการใช้ทรัพยากรภายในเครือข่ายขนาดใหญ่ จึงใช้สัญลักษณ์รูปก้อนเมฆแทนที่ตั้งของทรัพยากรคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีไว้ ให้บริการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่สามแทน
มาถึงตรงนี้คงพอจะเห็นภาพของ Cloud Computing บ้างแล้ว จึงขอกล่าวถึงคำที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีก เช่น Cloud Provider สำหรับคำนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก เพราะหมายถึงผู้ให้บริการระบบ Cloud นั่นเอง Cloud Storage คือสถานที่เก็บทรัพยากรสำหรับระบบ Cloud
ความแตกต่างระหว่าง Cloud Computing กับ Hosting ประเภทต่างๆ
เช่น Application Hosting หรือพื้นที่ให้บริการโปรแกรมประยุกต์, Web Hosting หรือพื้นที่ให้บริการเว็บไซต์, File Hosting หรือพื้นที่ให้บริการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลนั้น อยู่ตรงที่ Cloud Storage มี อิสระในการปรับขีดความสามารถ สมรรถนะ และขนาดทรัพยากรได้ตามภาระงาน เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในการขยายทรัพยากรสำหรับผู้ให้บริการ เพราะมีความร่วมมือกับผู้ให้บริการบุคคลที่สามที่เป็นผู้จัดหาและจัดสรร ทรัพยากรอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจำนวนโปรแกรมจะใช้ทรัพยากรในการประมวลผลมากขึ้นเท่าไร หรือต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ ผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ Cloud ไม่จำเป็นต้องกังวลในข้อจำกัดนี้ อย่างไรก็ตามเรื่องค่าใช้จ่ายนั้นจะขึ้นกับการจ่ายตามที่ใช้จริง (pay-per-use) และอาจมีเรื่องอื่นๆ อีกขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละเจ้าที่ให้บริการ โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่มากมาย เช่น Google Apps, Google App Engine, IBM Blue Cloud, Amazon EC2 เป็นต้น
”การประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ ระบบ จัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยระบบสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนทรัพยากรให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทราบการทำงานเบื้องหลังว่าเป็นอย่างไร” โดย JavaBoom Collection
หรือ คำนิยามจากวิกิพีเดียที่ว่า “Cloud Computing อ้างถึงทรัพยากรสำหรับการคำนวณผลที่ถูกเข้าถึง ซึ่งโดยทั่วไปถูกเป็นเจ้าของและถูกดำเนินการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 (third-party provider) ซึ่งได้รวบรวมพื้นฐานที่จำเป็นทั่วไปเข้าไว้ด้วยกันในตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center) โดยผู้บริโภคบริการ cloud computing เสียค่าใช้จ่ายเพื่อความสามารถการคำนวณหรือการประมวลผลตามที่ต้องการ และไม่จำเป็นต้องรู้หรือเข้าใจในเทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งซ่อนอยู่ อันที่ถูกใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องแม่ข่าย (server) อย่างไรก็ตามมีตัวเลือกสำหรับผู้พัฒนาที่ต้องรู้และต้องคำนึงถึงในเทคโนโลยีสำคัญซึ่งซ่อนอยู่ในส่วนของการบริการแพล็ตฟอร์ม (platform services)”
การที่มีบางท่านให้คำนิยาม Cloud Computing ว่า “การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” นั้น ผู้เขียนเข้าใจว่าอาจเป็นเพราะ Cloud Computing เป็นการทำงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มากมายบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเราเพียงแต่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องสนใจว่าทรัพยากรที่ใช้อยู่นั้นมาจากต่างที่ต่างระบบเครือข่าย ทั้งที่อยู่ใกล้ ๆ หรือไกลออกไป เป็นการใช้ทรัพยากรภายในเครือข่ายขนาดใหญ่ จึงใช้สัญลักษณ์รูปก้อนเมฆแทนที่ตั้งของทรัพยากรคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีไว้ ให้บริการโดยผู้ให้บริการบุคคลที่สามแทน
มาถึงตรงนี้คงพอจะเห็นภาพของ Cloud Computing บ้างแล้ว จึงขอกล่าวถึงคำที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีก เช่น Cloud Provider สำหรับคำนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก เพราะหมายถึงผู้ให้บริการระบบ Cloud นั่นเอง Cloud Storage คือสถานที่เก็บทรัพยากรสำหรับระบบ Cloud
ความแตกต่างระหว่าง Cloud Computing กับ Hosting ประเภทต่างๆ
เช่น Application Hosting หรือพื้นที่ให้บริการโปรแกรมประยุกต์, Web Hosting หรือพื้นที่ให้บริการเว็บไซต์, File Hosting หรือพื้นที่ให้บริการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลนั้น อยู่ตรงที่ Cloud Storage มี อิสระในการปรับขีดความสามารถ สมรรถนะ และขนาดทรัพยากรได้ตามภาระงาน เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในการขยายทรัพยากรสำหรับผู้ให้บริการ เพราะมีความร่วมมือกับผู้ให้บริการบุคคลที่สามที่เป็นผู้จัดหาและจัดสรร ทรัพยากรอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจำนวนโปรแกรมจะใช้ทรัพยากรในการประมวลผลมากขึ้นเท่าไร หรือต้องใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ ผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ Cloud ไม่จำเป็นต้องกังวลในข้อจำกัดนี้ อย่างไรก็ตามเรื่องค่าใช้จ่ายนั้นจะขึ้นกับการจ่ายตามที่ใช้จริง (pay-per-use) และอาจมีเรื่องอื่นๆ อีกขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละเจ้าที่ให้บริการ โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่มากมาย เช่น Google Apps, Google App Engine, IBM Blue Cloud, Amazon EC2 เป็นต้น
เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของ Cloud Computing
ข้อดีของ Cloud Computing
1. ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งาน จริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น
2. ลดความเสี่ยงจากการเริ่มต้นหรือทดลองโครงการ
3. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
4. ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง
5. มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง
ข้อเสีย ของ Cloud Computing
1. เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการ Host ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง
2. ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล
3. ความไม่มีมาตรฐานของแพลทฟอร์ม ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ
ข้อดีของ Cloud Computing
1. ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งาน จริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น
2. ลดความเสี่ยงจากการเริ่มต้นหรือทดลองโครงการ
3. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
4. ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง
5. มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง
ข้อเสีย ของ Cloud Computing
1. เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการ Host ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง
2. ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล
3. ความไม่มีมาตรฐานของแพลทฟอร์ม ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ
Cloud Computing กับความปลอดภัย (Security)ในประเด็นเรื่องความปลอดภัยนั้น อันที่จริงในเชิงเทคนิคลูกค้าหรือผู้ใช้บริการสามารถทำได้ในระดับหนึ่ง เช่น การทำ Virtualization โดยลูกค้ามีสิทธิ์เต็มที่ในลักษณะของผู้ดูแลระบบเพื่อการกำหนดความปลอดภัยให้กับเครื่อง หรือ Virtual Machine ของตน, การใช้ระบบแจ้งเตือนเมื่อมีผู้ดูแลระบบพยายามดูข้อมูลของลูกค้า และการ Monitoring ทั้งห้อง data center จนถึงขั้น capture หน้าจอ admin
แต่ทั้งนี้ยังคงมีจุดอ่อนสำคัญที่ผู้ใช้บริการควรตระหนักถึง นั่นคือ เมื่อเป็นการจ้างให้บุคคลภายนอกเข้ามาดูแลระบบของเรา เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคนนั้นจะไม่แอบเก็บข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ของ ตนเองหรือเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่น ยิ่งถ้าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ข้อมูลยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ หรือถ้าเป็นองค์กรทางด้านการเงิน ถึงแม้เราจะมีระบบตรวจสอบ หรือ audit เพื่อติดตาม ว่าใครทำอะไร ตรงไหน แต่เมื่อเกิดเหตุและจับได้ก็คงทำได้แค่ลงโทษตามกฎบริษัทหรือดำเนินคดีตาม กฎหมาย แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการจัดจ้างบุคคลภายนอก (outsourcing) หรือ ใช้บุคลากรภายใน เหตุการณ์เช่นนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราต่างต้องอาศัยความเชื่อใจและใช้จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ สิ่งที่ผู้ให้บริการ Cloud หรือ Cloud Provider ทำให้ได้ ก็คือ การรับประกันสัญญา หรือกำหนดมาตรฐานการดูแลระบบ และยึดมั่นในมาตรฐานนั้น นอกจากนี้ควรมีการควบคุมการเปิดให้บริการของ Cloud Provider นั่นคือ มีการกำหนดว่าบริษัทที่จะเป็น Cloud Provider ได้ อาจต้องได้รับการรับรอง หรือมี certification อะไรรับรองบ้าง ต้องมี ISO ควบคุม และต้องมีเทคโนโลยีความปลอดภัยอะไรเสนอต่อลูกค้า (Cloud Consumer) บ้าง เป็นต้น
อ้างอิงข้อมูลจาก : JavaBoom Collection, Wikipedia, I-DIN NINTH CO.,LTD., Whatis.com, Tags:Cloud,Cloud Computing
แต่ทั้งนี้ยังคงมีจุดอ่อนสำคัญที่ผู้ใช้บริการควรตระหนักถึง นั่นคือ เมื่อเป็นการจ้างให้บุคคลภายนอกเข้ามาดูแลระบบของเรา เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคนนั้นจะไม่แอบเก็บข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ของ ตนเองหรือเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่น ยิ่งถ้าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ข้อมูลยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ หรือถ้าเป็นองค์กรทางด้านการเงิน ถึงแม้เราจะมีระบบตรวจสอบ หรือ audit เพื่อติดตาม ว่าใครทำอะไร ตรงไหน แต่เมื่อเกิดเหตุและจับได้ก็คงทำได้แค่ลงโทษตามกฎบริษัทหรือดำเนินคดีตาม กฎหมาย แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการจัดจ้างบุคคลภายนอก (outsourcing) หรือ ใช้บุคลากรภายใน เหตุการณ์เช่นนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราต่างต้องอาศัยความเชื่อใจและใช้จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ สิ่งที่ผู้ให้บริการ Cloud หรือ Cloud Provider ทำให้ได้ ก็คือ การรับประกันสัญญา หรือกำหนดมาตรฐานการดูแลระบบ และยึดมั่นในมาตรฐานนั้น นอกจากนี้ควรมีการควบคุมการเปิดให้บริการของ Cloud Provider นั่นคือ มีการกำหนดว่าบริษัทที่จะเป็น Cloud Provider ได้ อาจต้องได้รับการรับรอง หรือมี certification อะไรรับรองบ้าง ต้องมี ISO ควบคุม และต้องมีเทคโนโลยีความปลอดภัยอะไรเสนอต่อลูกค้า (Cloud Consumer) บ้าง เป็นต้น
อ้างอิงข้อมูลจาก : JavaBoom Collection, Wikipedia, I-DIN NINTH CO.,LTD., Whatis.com, Tags:Cloud,Cloud Computing
Cloud Server คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไรเทคโนโลยี คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing) จะเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น แนวโน้มการนำคลาวด์ คอม พิวติ้งไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือจากองค์กรต่าง ๆ มากมายทั้งในและต่างประเทศ
เรื่องนี้เราจะมาขยายความเรื่อง Cloud Server หนึ่งในบริการที่เราภาคภูมิใจกัน
คลาวด์ คอมพิวติ้ง คือ แนวคิดการใช้งานทางด้านไอทีที่ใช้วิธีดึงพลังและสมรรถนะจากคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ตัวจากต่างสถานที่ให้มาทำงานสอดประสานกันเพื่อช่วยขับเคลื่อนการบริการทาง ด้านไอที ประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งมีอยู่หลายประการ เช่น ช่วยให้การนำไอทีไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจทำได้ง่ายและประหยัดขึ้นกว่าใน อดีต โดยองค์กรสามารถใช้บริการทางด้านไอทีได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของตน อีกทั้งผู้ใช้งานก็สามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและเลือกเสียค่าใช้จ่าย ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณของตนได้ ยิ่งไปกว่านั้น คลาวด์ คอมพิวติ้งก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงาน หรือเพิ่มความอุ่นใจในด้านความปลอดภัยของระบบไอที เป็นต้น
อนาคตอันใกล้ คลาวด์คอมพิวติ้งจะ กลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญและจะเข้ามามีบทบาทในการปรับเปลี่ยน รูปแบบการใช้งานทางด้านไอทีขนานใหญ่ นอกจากนั้นแล้ว แนวโน้มการใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้งก็จะเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น ด้วยแรงผลักดันจากแนวโน้มสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
1.แนวโน้มของเว็บที่กลายเป็นสื่อกลางสำหรับการติดต่อสื่อสารของคนทั่วโลก ปัจจุบันเว็บเครือข่ายทางสังคม (โซเชียลเน็ตเวิร์ก) มีการเปลี่ยนแปลงทุกวันโดยผู้ใช้หลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น เฟซบุ๊ค (Facebook) วิกิพีเดีย (Wikipedia) หรือทวิตเตอร์ (Twitter) เป็น ต้น ด้วยความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายของเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้เอง ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีการนำเว็บแอพพลิเคชั่นรูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรในองค์กร โดยการเลือกใช้โซเชียล เน็ตเวิร์กผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งในองค์กร เพื่อระดมความคิดของพนักงานผ่านระบบออนไลน์ในแบบเรียลไทม์ รูปแบบการใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้งดังกล่าวนี้สามารถรวบรวมข้อมูลจากพนักงาน18,000 คน โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปบริหารจัดการและวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้งานเพื่อ ประโยชน์ในเชิงธุรกิจต่อไป
นอกจากนั้น การสื่อสารอินเทอร์แอคทีฟในแบบเรียลไทม์ หรือที่เรียกว่าเว็บ 2.0 ก็ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันแนวโน้มการใช้งานทางด้านคลาวด์ คอมพิวติ้งให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าว นอกจากจะตอบสนองการทำงานของเว็บไซท์ที่เนื้อหามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแล้ว การประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลยังทำได้อย่างรวดเร็ว โดยดึงประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่มาใช้งานได้อีกด้วย
2. แนวโน้มความต้องการประหยัดพลังงาน ด้วย ปัญหาโลกร้อน และค่าใช้จ่ายของพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ องค์กรหลายแห่งในปัจจุบันต่างหันมาให้ความสำคัญกับการลดพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ใช้ในระบบไอที ทั้งนี้เพื่อช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายและลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ ประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้งในด้านนี้ก็คือ การช่วยองค์กรลดการใช้พลังงาน หรือแม้กระทั่งการนำพลังประมวลผลส่วนเกินที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานใน ระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้อีก จากผลการวิจัยล่าสุดพบว่า เครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่ที่ทำงานตลอดเวลานั้น ส่วนใหญ่มีการใช้ทรัพยากรในระบบเพียงแค่ 10-20 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ด้วยแนวคิดของคลาวด์ คอมพิวติ้งนี้เอง จะช่วยควบรวมทรัพยากรในระบบให้ทำงานและเกิดความคุ้มค่ารวมทั้งประโยชน์สูง สุดจากการใช้ทรัพยากรในระบบ นอกจากนั้นแล้ว วิธีการดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถเพิ่มหรือลดขนาดการใช้งานของ ระบบได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
3.ความต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กร ด้วย การแข่งขันอย่างรุนแรงทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรชั้นนำหลายแห่งต่างให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแตกต่างของ องค์กรในอีกทางหนึ่ง แนวโน้มการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมดังกล่าวนี้เอง ถือเป็นการกระตุ้นการนำคลาวด์ คอมพิวติ้งไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะการสร้างสรรค์นวัตกรรมสามารถทำได้ด้วยการดึงคุณประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งซึ่งให้พลังการประมวลผลที่เหนือกว่า แต่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง
4. ความต้องการใช้งานไอทีที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความสลับซับซ้อนเพียงใดก็ตาม สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว หลายคนก็ยังต้องการการใช้งานที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ให้บริการทางด้านไอทีหลายรายในปัจจุบันจึงหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง เพื่อนำเสนอบริการทางด้านซอฟต์แวร์แบบ ‘จ่ายเท่าที่ใช้’ (Software as a Service) เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าโดยเฉพาะองค์กรขนาดกลางหรือขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ มักมีเจ้าหน้าที่ทางด้านไอที่ทำงานอยู่อย่างจำกัด แทนรูปแบบการซื้อซอฟต์แวร์มาใช้โดยตรงแบบในอดีต การใช้งานในลักษณะดังกล่าว นอกจากจะทำให้การนำไอทีไปใช้งานทำได้ง่ายยิ่งขึ้นแล้ว องค์กรนั้น ๆ ก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ โดยไม่ต้องเผชิญกับความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการอัพเกรด เวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่นในอดีต
5. การจัดระเบียบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทุก วันนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าข้อมูลต่าง ๆ มากมายในเว็บช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้นกว่าในอดีตมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปัจจุบัน เราจะมีเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ช่วยเราหาข้อมูลที่ต้องการอยู่มากมาย แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยปริมาณข้อมูลในเว็บที่เพิ่มมากมายมหาศาลในแต่ละ วัน โดยเฉพาะข้อมูล และไฟล์ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายล้านคนส่งขึ้นไปในเว็บในแต่ละวันนั้น หากไม่มีการจัดระเบียบอย่างเป็นระบบที่ดี การนำคุณประโยชน์ของเว็บมาพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุน ประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบก็อาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
คุณประโยชน์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของคลาวด์ คอมพิวติ้งก็คือ ความสามารถในการจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลมากมายหลากหลายประเภทให้ เป็นระบบ ซึ่งช่วยให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทำได้เร็วและถูกต้องแม่นยำ กว่าเดิมด้วย ความสามารถและคุณประโยชน์อันมากมายดังที่กล่าวมานี้ ถือได้ว่าคลาวด์ คอมพิวติ้งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งอนาคต และจะมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจอย่างที่ไม่เคยมีมา ก่อน ดังนั้น ธุรกิจใดก็ตามที่สามารถฉกฉวยโอกาสและสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อธุรกิจของตนได้ก่อนก็ย่อมจะสร้างความได้เปรียบและโอกาสในการ ต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจขององค์กรได้ก่อนใคร
ที่มาจาก : SIPA
เรื่องนี้เราจะมาขยายความเรื่อง Cloud Server หนึ่งในบริการที่เราภาคภูมิใจกัน
คลาวด์ คอมพิวติ้ง คือ แนวคิดการใช้งานทางด้านไอทีที่ใช้วิธีดึงพลังและสมรรถนะจากคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ตัวจากต่างสถานที่ให้มาทำงานสอดประสานกันเพื่อช่วยขับเคลื่อนการบริการทาง ด้านไอที ประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งมีอยู่หลายประการ เช่น ช่วยให้การนำไอทีไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจทำได้ง่ายและประหยัดขึ้นกว่าใน อดีต โดยองค์กรสามารถใช้บริการทางด้านไอทีได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของตน อีกทั้งผู้ใช้งานก็สามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและเลือกเสียค่าใช้จ่าย ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณของตนได้ ยิ่งไปกว่านั้น คลาวด์ คอมพิวติ้งก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงาน หรือเพิ่มความอุ่นใจในด้านความปลอดภัยของระบบไอที เป็นต้น
อนาคตอันใกล้ คลาวด์คอมพิวติ้งจะ กลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญและจะเข้ามามีบทบาทในการปรับเปลี่ยน รูปแบบการใช้งานทางด้านไอทีขนานใหญ่ นอกจากนั้นแล้ว แนวโน้มการใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้งก็จะเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น ด้วยแรงผลักดันจากแนวโน้มสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
1.แนวโน้มของเว็บที่กลายเป็นสื่อกลางสำหรับการติดต่อสื่อสารของคนทั่วโลก ปัจจุบันเว็บเครือข่ายทางสังคม (โซเชียลเน็ตเวิร์ก) มีการเปลี่ยนแปลงทุกวันโดยผู้ใช้หลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น เฟซบุ๊ค (Facebook) วิกิพีเดีย (Wikipedia) หรือทวิตเตอร์ (Twitter) เป็น ต้น ด้วยความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายของเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้เอง ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีการนำเว็บแอพพลิเคชั่นรูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรในองค์กร โดยการเลือกใช้โซเชียล เน็ตเวิร์กผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งในองค์กร เพื่อระดมความคิดของพนักงานผ่านระบบออนไลน์ในแบบเรียลไทม์ รูปแบบการใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้งดังกล่าวนี้สามารถรวบรวมข้อมูลจากพนักงาน18,000 คน โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปบริหารจัดการและวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้งานเพื่อ ประโยชน์ในเชิงธุรกิจต่อไป
นอกจากนั้น การสื่อสารอินเทอร์แอคทีฟในแบบเรียลไทม์ หรือที่เรียกว่าเว็บ 2.0 ก็ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันแนวโน้มการใช้งานทางด้านคลาวด์ คอมพิวติ้งให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าว นอกจากจะตอบสนองการทำงานของเว็บไซท์ที่เนื้อหามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแล้ว การประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลยังทำได้อย่างรวดเร็ว โดยดึงประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่มาใช้งานได้อีกด้วย
2. แนวโน้มความต้องการประหยัดพลังงาน ด้วย ปัญหาโลกร้อน และค่าใช้จ่ายของพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ องค์กรหลายแห่งในปัจจุบันต่างหันมาให้ความสำคัญกับการลดพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ใช้ในระบบไอที ทั้งนี้เพื่อช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายและลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ ประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้งในด้านนี้ก็คือ การช่วยองค์กรลดการใช้พลังงาน หรือแม้กระทั่งการนำพลังประมวลผลส่วนเกินที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานใน ระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้อีก จากผลการวิจัยล่าสุดพบว่า เครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่ที่ทำงานตลอดเวลานั้น ส่วนใหญ่มีการใช้ทรัพยากรในระบบเพียงแค่ 10-20 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ด้วยแนวคิดของคลาวด์ คอมพิวติ้งนี้เอง จะช่วยควบรวมทรัพยากรในระบบให้ทำงานและเกิดความคุ้มค่ารวมทั้งประโยชน์สูง สุดจากการใช้ทรัพยากรในระบบ นอกจากนั้นแล้ว วิธีการดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถเพิ่มหรือลดขนาดการใช้งานของ ระบบได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
3.ความต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กร ด้วย การแข่งขันอย่างรุนแรงทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรชั้นนำหลายแห่งต่างให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแตกต่างของ องค์กรในอีกทางหนึ่ง แนวโน้มการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมดังกล่าวนี้เอง ถือเป็นการกระตุ้นการนำคลาวด์ คอมพิวติ้งไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะการสร้างสรรค์นวัตกรรมสามารถทำได้ด้วยการดึงคุณประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งซึ่งให้พลังการประมวลผลที่เหนือกว่า แต่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง
4. ความต้องการใช้งานไอทีที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความสลับซับซ้อนเพียงใดก็ตาม สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว หลายคนก็ยังต้องการการใช้งานที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ให้บริการทางด้านไอทีหลายรายในปัจจุบันจึงหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง เพื่อนำเสนอบริการทางด้านซอฟต์แวร์แบบ ‘จ่ายเท่าที่ใช้’ (Software as a Service) เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าโดยเฉพาะองค์กรขนาดกลางหรือขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ มักมีเจ้าหน้าที่ทางด้านไอที่ทำงานอยู่อย่างจำกัด แทนรูปแบบการซื้อซอฟต์แวร์มาใช้โดยตรงแบบในอดีต การใช้งานในลักษณะดังกล่าว นอกจากจะทำให้การนำไอทีไปใช้งานทำได้ง่ายยิ่งขึ้นแล้ว องค์กรนั้น ๆ ก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ โดยไม่ต้องเผชิญกับความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการอัพเกรด เวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่นในอดีต
5. การจัดระเบียบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทุก วันนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าข้อมูลต่าง ๆ มากมายในเว็บช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้นกว่าในอดีตมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปัจจุบัน เราจะมีเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ช่วยเราหาข้อมูลที่ต้องการอยู่มากมาย แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยปริมาณข้อมูลในเว็บที่เพิ่มมากมายมหาศาลในแต่ละ วัน โดยเฉพาะข้อมูล และไฟล์ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายล้านคนส่งขึ้นไปในเว็บในแต่ละวันนั้น หากไม่มีการจัดระเบียบอย่างเป็นระบบที่ดี การนำคุณประโยชน์ของเว็บมาพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุน ประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบก็อาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
คุณประโยชน์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของคลาวด์ คอมพิวติ้งก็คือ ความสามารถในการจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลมากมายหลากหลายประเภทให้ เป็นระบบ ซึ่งช่วยให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทำได้เร็วและถูกต้องแม่นยำ กว่าเดิมด้วย ความสามารถและคุณประโยชน์อันมากมายดังที่กล่าวมานี้ ถือได้ว่าคลาวด์ คอมพิวติ้งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งอนาคต และจะมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจอย่างที่ไม่เคยมีมา ก่อน ดังนั้น ธุรกิจใดก็ตามที่สามารถฉกฉวยโอกาสและสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อธุรกิจของตนได้ก่อนก็ย่อมจะสร้างความได้เปรียบและโอกาสในการ ต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจขององค์กรได้ก่อนใคร
ที่มาจาก : SIPA